ข่าวประชาสัมพันธ์ ความรู้ หมอโรคกระดูกและข้อ | น.พ.สุนทร ศรีสุวรรณ์

ปวดขาหนัก! ตอนกลางคืน แบบไหนอันตราย?

ออกกำลังกาย "แกว่งแขน" ใครเสี่ยงห้ามทำ

ปวดเข่าเรื้อรัง อันตรายไหม?

เปิดสาเหตุข้อมือบวม อักเสบ เรื้อรัง

แนะวิธีดูแล “โรคกระดูกพรุน” ภัยเงียบผู้สูงอายุ

พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ หรือ โรครองช้ำ

16 ก.พ. 2567 10:18 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

กลุ่มอาการปวดส้นเท้าอย่างรุนแรงในตอนเช้า โดยเฉพาะหลังจากเมื่อลุกเดินก้าวแรกๆ ในแต่ละวัน บางรายอาจจะเจ็บมาก จนไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้ และอาจมีอาการปวดต่อเนื่องได้หลายนาที  หากท่านใดที่มีอาการตรงตามที่กล่าวมาข้างต้น แสดงว่าท่านเป็นโรค “พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ” หรือเรียกอีกชื่อที่รู้จักกันทั่วไป คือ “โรครองช้ำ”

สาเหตุของการเกิดโรค :  ลักษณะโดยปกติทั่วไปของเท้า จะมีพังผืดที่บริเวณส้นเท้า โดยพังผืดนี้จะยึดตั้งแต่บริเวณส้นเท้าและแผ่กระจายตัวเพื่อยึดกับกระดูกฝ่าเท้าด้านหน้าของทุกนิ้ว ซึ่งพังผืดมีหน้าที่สำคัญในการรับแรงกระแทกในขณะที่กำลังใช้งานเท้าอยู่ พังผืดที่เท้ายังเป็นโครงสร้างที่สำคัญทำให้เกิดส่วนโค้งของอุ้งเท้าอีกด้วย โดยจุดเกาะของพังผืดจะเริ่มต้นจากส้นเท้าและแผ่ขยายไปยังด้านหน้าของทุกนิ้ว ทำหน้าที่ในการรับแรงกระแทกเวลาเดินลงน้ำหนัก  …..

โรครองช้ำ

ในรายการ "สุขภาพดี 4 ทุ่ม" 9 พ.ค.67 ทาง FM100.5 ดำเนินรายการโดย อรวรรณ เผือกไธสง และ ศิริพร กิจประกอบ

วิธีสังเกต "ยาสเตียรอยด์" ภัยร้าย!! ที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

8 พฤศจิกายน 2566 09:40 น. โดย : สยามรัฐออนไลน์

จริงๆ แล้ว ยาสเตียรอยด์  เป็นยาที่มีคุณและประโยชน์มากมาย แค่ควรใช้ยาตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่เหมาะสมเท่านั้น  ในผู้ป่วยบางรายและบางโรคก็มีความจำเป็นต้องทานยาสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน  จึงขอแนะนำให้ทำการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด

ปัจจุบันในด้าน โรคกระดูกและข้อ มีการนำยาสเตียรอยด์มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยหวังผลให้คนไข้ หายปวดได้ดีและเร็วขึ้น เพื่อให้คนไข้สามารถกลับไปทำงานได้ตามปกติ และทำให้ผู้ป่วย นิยมกลับมาใช้ยา กลุ่มนี้ซ้ำด้วยตัวเอง เมื่อมีอาการปวด ตามกล้ามเนื้อ , กระดูกและข้อ โดยที่คนไข้คาดไม่ถึงว่าการใช้ยาสเตียรอยด์ เช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดผลเสียที่รุนแรงต่อร่างกายจากการรับสารสเตียรอยด์กึ่งสังเคราะห์โดยไม่จำเป็น

ในรายการ "สุขภาพดี 4 ทุ่ม" 30 พ.ย.66 ทาง FM100.5 ดำเนินรายการโดย อรวรรณ เผือกไธสง และ ศิริพร กิจประกอบ

”ภัยมืด” เก๊าท์กัดกินกระดูก! อันตรายที่มองไม่เห็น

วันที่ 5 ต.ค. 2566 10:15 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

โรคเก๊าท์  เป็นหนึ่งในโรคข้อที่พบบ่อย โดยเฉพาะในผู้ชาย อายุ 30 ปีขึ้นไป และในผู้หญิง โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน สาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากการมีปริมาณกรดยูริคในเลือดเข้มข้นสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน เกิดเป็นผลึกสะสมในข้อ หรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ กระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบปวดบวมข้ออย่างรุนแรง ในผู้ป่วยบางรายอาจพบมีอาการไข้ร่วมด้วย อาการอักเสบจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง เกิดได้กับทุกข้อ โดยส่วนมาก มักตรวจพบที่ โคนกระดูกนิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า ข้อเข่า และข้อศอก

หมอกระดูก หาดใหญ่ พบหมอนรองกระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาทในคนหนุ่มสาวมากขึ้น

วันที่ 13 กันยายน 2566 | สยามรัฐออนไลน์

      โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม ทับเส้นประสาท  เป็นหนึ่งโรคที่ตรวจพบเป็นประจำ  โดยในอดีต จะตรวจพบเจอโรคนี้ ในกลุ่มคน อายุ 40-50 ปีขึ้นไป จากสาเหตุหลักๆ คือ ความเสื่อมตามอายุ แต่ในสังคมปัจจุบัน รูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป มีการใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ มากขึ้น พฤติกรรมก้มๆเงยๆ คอ มากกว่าปกติ  ทำให้ หมอนรองกระดูกคอ ทำงานหนัก  เร่งให้เกิดความเสื่อมเร็วขึ้น  จึงเป็นเหตุทำให้ ในปัจจุบัน  พบโรค โรคหมอนรองกระดูกคอเสื่อม ทับเส้นประสาท  ในวัย คนหนุ่มสาว มากขึ้น  !!!

ปวดหลัง-ตึงเอว “โรคกระดูก” ยอดนิยมอันดับ 1

26 ม.ค. 2566 16:48 | โดย: ผู้จัดการออนไลน์

กลุ่มอาการ “ปวดหลัง” เป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน จากสถิติมนุษย์ร้อยละ 80 เคยมีอาการปวดหลัง ปวดเอว หรืออาจปวดร้าวลงขา ภาวะเหล่านี้สามารถพบได้ทุกกลุ่มอายุ ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุ ซึ่งสาเหตุของการปวดหลังจะแตกต่างกันไปแต่ละวัย และบางสาเหตุอาจก่อให้เกิดการทำลายเส้นประสาทสันหลัง อันอาจนำไปสู่ความพิการ หรือทุพพลภาพในอนาคตได้  สาเหตุของอาการปวดหลัง มีอะไรบ้าง ? ลักษณะอาการปวดหลังที่สำคัญ และควรไปพบแพทย์

หมอกระดูกหาดใหญ่เตือน 5 สัญญาณปวดกระดูกและข้อที่ต้องระวังอาจเกี่ยวข้องกลุ่มโรคร้ายแรง

วันอังคาร ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565 | โดย: แนวหน้าออนไลน์

สัญญาณอาการ 5 อย่าง ที่อยากให้หมั่นสังเกตและไม่ประมาทต่ออาการเจ็บป่วยมีดังนี้   1.อาการปวดเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน  2.ปวดกระดูกและข้อต่อร่วมกับมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้ต่ำๆ  3.อาการปวดกระดูกและข้อที่เป็นมาแล้วระยะหนึ่ง แต่มีอาการปวดถี่ขึ้น รุนแรงมากขึ้น  4.ปวดกระดูกสันหลังหรือกระดูกต้นคอ ร่วมกับมีอาการปวดร้าว ชา  5. มีประวัติบุคคลในครอบครัว ป่วยเป็นโรคกลุ่มร้ายแรงมาก่อน  อย่านิ่งนอนใจ เพราะอาการบางอย่าง หากปล่อยไว้นาน การรักษาก็ต้องใช้ระยะเวลานานมากขึ้น

ภัยเงียบของผู้สูงอายุ ‘โรคกระดูกพรุน’

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 | โดย: อินนิวส์ ออนไลน์ : Innews Online

กลุ่มประชากรผู้สูงอายุของทั้งโลก มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกๆปี  สำหรับในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2565 คาดการณ์ว่ามีประชากรสูงอายุ ประมาณ 12 ล้านคน  และน่าจะมีผู้ป่วยที่เป็น โรคกระดูกพรุน  อยู่ประมาณ  3-4  ล้านคน  แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่า ผู้ป่วยมากกว่า ร้อยละ 50 ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้  ??!! และไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม  นพ.สุนทร  ศรีสุวรรณ์  ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (กระดูกและข้อ)  โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่  กล่าวว่าโรคนี้เปรียบเหมือน ภัยเงียบ คือ  “  เป็นโรค แต่ไม่รู้ตัว “ 

สัมภาษณ์ นพ.สุนทร ศรีสุวรรณ์ | อาจารย์แพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ รพ.ศูนย์หาดใหญ่

หมอโรคกระดูกและข้อ

ในรายการ "สุขภาพดี 4 ทุ่ม" 7 เม.ย.66 ทาง FM100.5
ดำเนินรายการโดย อรวรรณ เผือกไธสง และ ศิริพร กิจประกอบ

หมอโรคกระดูกและข้อ "โรงพยาบาลหาดใหญ่" ชี้แก้ปัญหานักกีฬาบาดเจ็บ

วันที่ 5 ตุลาคม 2564 | โดย: คมชัดลึก ออนไลน์

สาร CFA เป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหาปวดเข่า และข้อต่อ ซึ่งเหมาะสำหรับนักกีฬา ผู้สูงอายุ และผู้มีปัญหาออฟฟิศซินโดรม   สารที่เรียกว่า CFA หรือ Cetylated Fatty Acid สารสกัดกรดไขมันจากพืชในธรรมชาติ ทำปฏิกิริยากับ Cetyl Alcohol เกิดเป็นสารสกัดที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมเข้าสู่ระบบข้อต่อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ได้ลึกยิ่งขึ้น จะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบข้อต่อและเส้นเอ็น เข้าไปเสริมเยื่อบุผิวในบริเวณนั้นๆ ให้แข็งแรง จากการบาดเจ็บหรือมีการเสื่อมสภาพจากการใช้งานเป็นเวลานาน